กรองน้ำเกษตร 2” รุ่น LF-C ขนาด 2 นิ้ว ชนิดตะแกรง ?➡? ไส้กรองตะแกรง Super Products หัวกรอง กรองปุ๋ย Allaboutplants

กรองน้ำเกษตร 2” รุ่น LF-C ขนาด 2 นิ้ว ชนิดตะแกรง ?➡? ไส้กรองตะแกรง Super Products หัวกรอง กรองปุ๋ย Allaboutplants
คุณสมบัติเด่น / รายละเอียดสินค้า:
กรองน้ำเกษตร (ชนิดตะแกรง)
- รับแรงดันน้ำสูงสุด 6 บาร์
- ปริมาณน้ำสูงสุด 15 ลบ.ม./ชม.
- อุณหภูมิสูงสุด 60 องศาเซลเซียส
- ไส้กรองความละเอียด 130 ไมครอน
- ใช้กับไส้กรองตะแกรง CF 2”กรองน้ำ(Filters) กรองน้ำเกษตร เป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นมากในระบบรดน้ำ เช่น มินิสปริงเกลอร์ น้ำหยด สปริงเกลอร์ เพื่อป้องกันการอุดตันของหัวจ่ายน้ำ โดยสิ่งสกปรกหรือเศษผงจะถูกกักไว้ไม่ให้เข้าไปในระบบรดน้ำจึงควรถอดไส้กรองออกมาล้างทำความสะอาดเป็นประจำ เพื่อยืดอายุการใช้งาน เนื่องจากน้ำที่น้ำมาใช้ในการเกษตรส่วนใหญ่มักจะมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งอาจจะมีตะกอน สารแขวนลอย สารละลายหรือแม้กระทั่งสารเคมีปนอยู่ ดังนั้นเราควรปรับสภาพน้ำก่อนนำน้ำมาใช้ในการเกษตร การติดตั้งกรองน้ำสามารถช่วยกรองสิ่งสกปรกที่มีขนาดใหญ่กว่าความละเอียดของไส้กรองที่เราเลือกใช้ ในกรณีที่ต้องการกำจัดสิ่งสกปรกที่มีขนาดเล็กกว่าความละเอียดของไส้กรอง เราจะต้องทำบ่อพักเพื่อให้สารแขวนลอยขนาดเล็กตกตะกอนก่อนนำมาใช้ในระบบ การเลือกใช้งานกรองน้ำเพื่อการเกษตร สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงเพื่อเลือกกรองน้ำเกษตร มีดังต่อไปนี้
1.ชนิดของกรองน้ำ
2.ความละเอียดของกรองน้ำ(ไส้กรอง)
3.ขนาดของกรองน้ำชนิดของกรองน้ำเกษตร กรองน้ำที่นิยมใช้สำหรับการเกษตร จะเป็นกรองน้ำที่ตัวกรองทำมาจากพลาสติกและภายในมีไส้กรอง ซึ่งมีรูปแบบของไส้กรองอยู่ 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่ ไส้กรองดิสก์ และไส้กรองตะแกรง ความแตกต่างของกรองดิสก์และกรองตะแกรง
1. ถ้าเปรียบเทียบขนาดตัวกรองที่เท่ากัน พื้นที่การกรองของแผ่นดิสก์จะมีพื้นที่การกรองมากกว่า
2.ไส้กรองแผ่นดิสก์มีอายุยาวนานกว่าไส้กรองตะแกรง เนื่องจากแผ่นดิสก์เป็นพลาสติก จึงสามารถทนต่อการขูดขีดของตะกอนแข็ง หรือเม็ดทรายที่มากั้นน้ำได้ดีกว่ากรองตะแกรง ซึ่งมีโอกาสขาดได้ง่ายกว่า
3.การล้างทำความสะอาดของกรองแผ่นดิสก์ สามารถทำได้ง่ายกว่าแบบกรองตะแกรง ซึ่งเป็นรูขนาดเล็กและขาดง่าย
4.วิธีการกรองของกรองแผ่นดิสก์และตะแกรงสแตนเลส จะเป็นการกรองของกรอบนอกไส้กรองไหลผ่านเข้าสู่แกนกลาง ตะกอนสกปรกจะถูกกักไว้อยู่บริเวณของกรอบนอกไส้กรอง
5.วิธีการกรองของกรองตะแกรงรุ่นประหยัด จะเป็นการกรองจากแกนภายในไส้กรองไหลผ่านตะแกรงสู่บริเวณภายนอกตะแกรง ตะกอนสกปรกจะถูกกักไว้อยู่บริเวณแกนกลางของไส้กรอง ความละเอียดของน้ำเกษตร (ไส้กรอง) ความละเอียดของไส้กรองเกษตรที่นิยมใช้กันอยู่ 130 ไมครอน หรือ 120 MESH หมายถึงกรองสามารถกรองตะกอนที่มีขนาดใหญ่กว่า 130 ไมครอนได้ หากใช้ความละเอียดกรองสูงกว่านี้ จะทำให้กรองน้ำดันอย่างรวดเร็ว และดูแลรักษายากขนาดของกรองน้ำเกษตร
1.มีให้เลือกตั้งแต่ ½ ไปจนถึง 4”
2.ขนาดของกรองน้ำมีผลต่ออัตราการไหลของน้ำ กรองตัวเล็กอัตราการไหลของน้ำจะต่ำกว่ากรองตัวใหญ่
3.ในกรณีที่น้ำไม่สกปรกมากนัก ควรใช้อัตราการไหลของน้ำผ่านกรองที่
1.5 เท่าของอัตราการจ่ายน้ำที่จุดใช้งานของปั๊มน้ำ เช่น ปั๊มน้ำให้น้ำที่จุดใช้งาน 20 ลบ.ม./ชม. กรองน้ำก็ควรมีอัตราการไหลของน้ำผ่านกรองไม่ต่ำกว่า 30 ลบ.ม/ชม.
4.ในกรณีที่น้ำสกปรกมาก ควรใช้อัตราการไหลของน้ำผ่านกรองที่ 2 เท่าของอัตราการจ่ายน้ำที่จุดใช้งานของปั๊มน้ำ เช่น ปั๊มน้ำให้น้ำที่จุดใช้งาน 20 ลบ.ม/ชม. กรองน้ำก็ควรมีอัตราการไหลของน้ำผ่านกรองไม่ต่ำกว่า 40 ลบ.ม/ชม. การติดตั้งกรองน้ำเพื่อการเกษตร
1.ลำดับการติดตั้ง ควรจะเป็นปั๊มน้ำ
- วาล์วดูดปุ๋ย
-กรองน้ำ
2.ควรติดตั้งกรองน้ำยกสูงจากพื้น เพื่อสะดวกในการถอดล้างทำความสะอาดกรองน้ำ
3.ควรใช้ข้อต่อยูเนี่ยนหรือยูเนี่ยนวาล์วในการติดตั้งกรอง เพื่อความสะดวกในการถอดกรอง
4.ควรติดตั้งกรองน้ำในที่ร่ม เพื่อยืดอายุการใช้งาน
5.การติดตั้งเกจวัดแรงดันที่กรองน้ำจะทำให้เราสามารถดูได้ว่ากรองตันแล้วหรือยัง หากแรงดันทางน้ำเข้าแตกต่างจากแรงดันทางน้ำออกมาก แปลว่ากรองตันแล้ว
6.การติดตั้งกรองน้ำ ต้องติดตั้งบนลูกศรบนเสื้อกรอง โดยปลายลูกศรเป็นทางน้ำเข้า และหัวลูกศรเป็นทางน้ำออก
7.การติดตั้งกรองน้ำ สามารถติดตั้งแบบต่อขนาน เพื่อเพิ่มอัตราการไหลของน้ำผ่านกรอง อีกทั้งยังช่วยลดการสูญเสียแรงดันและช่วยลดความถี่ในการล้างไส้กรองด้วย
ข้อควรระวัง : ในกรณีเปลี่ยนไส้กรอง ซึ่งไม่ตรงกับประเภทกรองที่ซื้อมา เช่น เปลี่ยนเป็นไส้กรองตะแกรงโดยใช้เสื้อกรองดิสก์ (เดิม) เวลาติดตั้งกรองต้องติดตั้งสวนทางกับลูกศรที่เสื้อกรอง มิเช่นนั้นกรองจะไม่สามารถใช้งานได้
 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของ กรองน้ำเกษตร 2” รุ่น LF-C ขนาด 2 นิ้ว ชนิดตะแกรง ?➡? ไส้กรองตะแกรง Super Products หัวกรอง กรองปุ๋ย Allaboutplants
หากรายละเอียดยังไม่เพียงพอ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ร้านด้านล่าง....
All About Plants