สรุปหลักกฎหมายที่ใช้สอบท้องถิ่น (ภาค ก) #ดินสอท้องถิ่น

สรุปหลักกฎหมายที่ใช้สอบท้องถิ่น (ภาค ก) #ดินสอท้องถิ่น
คุณสมบัติเด่น / รายละเอียดสินค้า:
หนังสือเล่มนี้จำนวน 224 หน้า สรุปกฎหมายที่สำคัญ สารบัญ ภาคที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแม่บทที่เกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น บทที่ 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
1.1 ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับองค์กรที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญ
1.2 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น
1.3 ประเด็นน่าสนใจ บทที่ 2 กฎหมายพื้นฐานในการบริหารราชการแผ่นดิน
2.1 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553)
2.2 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562)
2.3 พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 บทที่ 3 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560) ภาคที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น บทที่ 1 กฎหมายพื้นฐานของการปกครองส่วนท้องถิ่น
1.1 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549)
1.2 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 บทที่ 2 ประเด็นเกี่ยวกับบริหารราชการท้องถิ่นตามกฎหมายเฉพาะ
2.1 หลักการทั่วไป
2.2 อำนาจหน้าที่ (งาน)
2.3 การจัดสรรเงิน (เงิน)
2.4 นายกองค์การท้องถิ่น (คน)
2.5 สภา,คณะกรรมการต่างๆ ในองค์การท้องถิ่น
2.6 การกำกับดูแล สนทนาภาพรวมหนังสือ หลังจากที่ผู้เขียนและคณะได้จัดทำหนังสือสรุปหลักกฎหมายที่ใช้สอบ ก.พ. ภาค ก. หรือที่เรียกกันอย่างย่อว่าดินสอภาค ก. หรือดินสอกฎหมาย หรือเล่มดินสอ ผู้อ่านหลายท่านก็ขอให้มีการจัดทำสรุปหลักกฎหมายที่ใช้ในการสอบท้องถิ่นอีกเล่มหนึ่ง ​คณะผู้เขียนจึงได้พยายามรวบรวมข้อมูลที่สำคัญ ทั้งเนื้อหาและหลักการในทางทฤษฎีและหลักกฎหมายที่ใช้บังคับในทางปฏิบัติ มาสรุปองค์ความรู้เพื่อใช้ในการนำเสนอหลักกฎหมายทั้ง 11 ฉบับ แบบเข้าใจง่าย ​หนังสือเล่มนี้ได้นำเอาหลักกฎหมายที่สำคัญที่ใช้ในการสอบท้องถิ่นทั้ง 11 ฉบับ มาวิเคราะห์และเรียบเรียงเพื่อนำเสนอใหม่ ภายใต้แนวความคิด 3 ส. คือ ​ส. ที่หนึ่ง สลัด สลัดสิ่งที่จำเป็นน้อยออกไปก่อน ​เนื่องจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอบท้องถิ่นนั้นมีจำนวนมาก คณะผู้เขียน จึงต้องจัดความสัมพันธ์ของกฎหมาย แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ​ ​
1. จำเป็นต้องรู้ หมายถึง บทบัญญัติที่อาศัยเป็นหลักในการปฏิบัติงาน ​​
2. สมควรรู้ หมายถึง หลักกฎหมายที่ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้อยู่เป็นประจำ ​​
3. ความรู้ที่เป็นรายละเอียด หมายถึง ข้อมูลทางกฎหมายที่ควรทราบ แต่ในชั้นเตรียมตัวสอบนั้นยังไม่ควรไปให้ความสำคัญมาก เพราะเนื้อหาที่ต้องสอบมีมาก แต่ถ้ามีเวลาก็แนะนำให้ไปเปิดดูในตัวบท ​ หลังจากที่เราได้จำแนกข้อมูลออกเป็นสามระดับแล้ว หนังสือเล่มนี้จะให้ความสำคัญกับข้อมูลในระดับที่หนึ่งและระดับที่สอง ด้วยการนำมาสรุปหลักการและเน้นย้ำผ่านการทำตัวหนาและการขีดเส้นใต้ไว้ เพื่อช่วยต่อการสรุปองค์ความรู้ที่ได้กระทำในขั้นตอนต่อไป ​ ส. ที่สอง สรุป สรุปหลักการที่ต้องรู้ ​หลังจากการสลัดข้อมูลบางส่วนออกไปในขั้นตอนแรกแล้ว ชั้นนี้คณะผู้เขียนได้นำเอาความรู้มาสรุปและเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ โดยตั้งเป็นข้อสังเกตไว้เป็นประโยคในแต่ละข้อ เพื่อนำเสนอให้ผู้อ่านสามารถจดจำได้อย่างง่ายขึ้นกว่าการอ่านตัวบทเรียงทีละมาตรา ​ส. ที่สาม สกัด สกัดหลักการแล้วร้อยเรียงข้อมูลขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ ​สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบกฎหมายท้องถิ่นนั้น คณะผู้เขียนเห็นว่าการสกัดองค์ความรู้ทั้งหมดแล้วนำเสนอใหม่อย่างเป็นระบบ ซึ่งระบบในการนำเสนอในหนังสือเล่มนี้ ​คณะผู้เขียนได้จัดการองค์ความรู้และนำเสนอผ่านแนวคิดที่ได้รับจากขณะศึกษากฎหมายปกครองท้องถิ่นในระดับปริญญาตรี ซึ่งหากพิจารณากฎหมายท้องถิ่นอย่างเป็นองค์รวมแล้ว สามารถจำแนกได้เป็น 5 เรื่องสำคัญที่ใช้เป็นกรอบทางความคิด เพื่อจดจำและต่อยอดในแบบฉบับของตนเอง อันจะทำให้สามารถเข้าใจกฎหมายได้ดียิ่งขึ้น ​โดยสรุปหนังสือเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ในการย่อตัวบททั้งหมดที่ใช้ในการสอบและนำเสนอใหม่ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านจำหลักกฎหมายที่สำคัญได้ สนใจติดต่อได้ที่ เพจเตรียมสอบความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ​“สุดท้ายนี้คณะผู้เขียนขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการสอบต่อไป”
 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของ สรุปหลักกฎหมายที่ใช้สอบท้องถิ่น (ภาค ก) #ดินสอท้องถิ่น
หากรายละเอียดยังไม่เพียงพอ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ร้านด้านล่าง....
Xuixu